รูปทรง พื้นที่ และปริมาตร

รูปทรง พื้นที่ และปริมาตร

     ปริซึม ในทางคณิตศาสตร์ ให้ความหมายคำว่า ปริซึม ดังนี้รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานทั้งสองเป็นรูปเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ ฐานทั้งสองอยู่บนระนาบเดียวกัน และด้านข้างแต่ละด้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน หรือเรียกง่ายๆว่า แท่งเหลี่ยมตัน
สูตรคำนวณต่างๆที่เกี่ยวกับปริซึม       
ปริมาตรของปริซึม = พื้นที่ฐาน X ความสูง
พื้นที่ผิวทั้งหมดของปริซึม = พื้นที่ผิวข้าง X พื้นที่หน้าตัดหัวท้าย
พื้นที่ผิวข้างของปริซึม = ความยาวเส้นรอบฐาน X ความสูง

     พีระมิด ในทางคณิตศาสตร์ ให้ความหมายคำว่า พีระมิด ดังนี้
รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปเหลี่ยมใดๆ มียอดแหลมที่ไม่อยุ่บนระนาบเดียวกันกับฐาน และหน้าทุกหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอดร่วมกันที่ยอดแหลมนั้น เรียกว่า พีระมิด
สูตรคำนวณต่างๆที่เกี่ยวกับพีระมิด
พื้นที่ผิวข้างของพีระมิด = 1/2 X ความยาวรอบฐาน X สูงเอียง= พื้นที่ของหน้าทุกหน้ารวมกัน
พื้นที่ผิวของพีระมิด = พื้นที่ผิวข้างของพีระมิด X พื้นที่ฐานของพีระมิด

     ทรงกระบอก ในทางคณิตศาสตร์ให้ความหมายคำว่า ทรงกระบอก ดังนี้
รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานสองฐานเป็นรูปวงกลมที่เท่ากันทุกประการและอยุ่บนระนาบที่ขนานกัน และเมื่อตัดรูปเรขาคณิตสามมิตินั้นด้วยระนาบที่ขนานกับฐานแล้ว จะได้หน้าตัดเป็นวงกลมที่เท่ากันทุกประการกันฐานเสมอ เรียกรูปเรขาคณิตสามมิตินั้นว่า ทรงกระบอก
สูตรคำนวณต่างๆที่เกี่ยวกับทรงกระบอก
ปริมาตรทรงกระบอก = (22/7 หรือ 3.14) X รัศมียกกำลัง 2 X สูงตรง
พื้นที่ผิวข้างของทรงกระบอก = 2(22/7 หรือ 3.14) X รัศมี X สูงตรง + 2(22/7 หรือ 3.14) X รัศมียกกำลัง2

      กรวย ในทางคณิตศาสตร์ให้ความหมายคำว่า กรวย ดังนี้
รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปวงกลม มียอดแหลมที่ไม่อยู่ในระนาบเดียวกันกับฐาน และเส้นที่ต่อระหว่างจุดยอดกับจุดใดๆ บนขอบของฐานเป็นส่วนของเส้นตรง เรียกรูปเรขาคณิตสามมิตนั้นว่ากรวย
สูตรคำนวณต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกรวย
ปริมาตรของกรวย = 1/3 X (22/7 หรือ 3.14) X รัศมียกกำลังสอง X สูงตรง
พื้นที่ผิวของกรวย = (22/7 หรือ 3.14) X รัศมี X สูงเอียง + (22/7หรือ 3.14)X รัศมียกกำลังสอง

      ทรงกลม ในทางคณิตศาสตร์ให้ความหมายคำว่า ทรงกลม ดังนี้
รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีผิวโค้งเรียบ และจุดทุกจุดบนผิวโค้งอยู่ห่างจากจุดจุดหนึ่งเป็นระยะเท่ากัน เรียกว่า ทรงกลมจุดคงที่นั้นเรียกว่า จุดศูนย์กลางของทรงกลม
ระยะที่เท่ากันนั้นเรียกว่า รัศมีของทรงกลม
สูตรคำนวณต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทรงกลม
ปริมาตรของทรงกลม = 4/3 X (22/7 หรือ 3.14) X รัศมียกกำลัง 3
พื้นที่ผิวของทรงกลม = 4 X (22/7 หรือ 3.14) X รัศมียกกำลัง 2

รูปทรงและปริมาตรทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
1. รูปทรง
รูปทรง คือ สิ่งที่มองเห็นทั้งส่วนที่เป็นพื้นผิว ส่วนลึก ส่วนหนา ส่วนสูง ฯลฯ
2. ทรงกลม เป็นรูปทรงผิวโค้งเรียบ เช่น ลูกบอล

 



3. ทรงกระบอก
ทรงกระบอก เป็นรูปทรงที่มีหน้าตัด (ฐาน) ทั้งสองข้างเป็นรูปวงกลมที่เท่ากัน ทุกประการ และมีหน้าข้างโค้ง
 



4. กรวย
กรวย เป็นเป็นรูปทรงที่มีฐานเป็นรูปวงกลม มีจุดยอดแหลม และมีหน้าข้างโค้ง





5. ปริซึม
ปริซึม เป็นรูปทรงที่มีหน้าตัด(ฐาน) ทั้งสองข้างเป็นรูปหลายเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ มีหน้าข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก การเรียกชื่อปริซึมจะเรียกตามรูปหน้าตัดของปริซึม

 



6.พีระมิด
พีระมิด เป็นรูปทรงที่มีฐานเป็นรูปทรงหลายเหลี่ยม มียอดแหลมและมีด้าน ข้างเป็นรูปสามเหลี่ยม การเรียกตามชื่อรูปที่ฐานของพีระมิด
 




7. ปริมาตร
ปริมาตร เป็นขนาดของรูปทรง การหาปริมาตรเป็นการหาขนาดของรูป ทรงตัน ส่วนการหาความจุเป็นการหาปริมาตรภายในของรูปทรงที่กลวง
ปริมาตรสี่เหลี่ยมมุมฉาก = กว้าง x ยาว x สูง = พื้นที่ฐาน x สูง ลูกบาศก์หน่วย



  ที่มา : http://www.electron.rmutphysics.com/science-news/index.php?option=com_content&task=view&id=1259&Itemid=4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น