รูปเรขาคณิตที่พบในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ ล้วนมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งเราต้องใช้การสังเกตหาความสัมพันธ์ ความสอดคล้องในการจำแนก และการเปรียบเทียบ ภาพที่มองเห็น เราจะต้องสามารถอธิบาย ตำแหน่ง ระยะทาง และใช้การคาดเดารูปร่างลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้ เมื่อมีการเปลี่ยนตำแหน่งหรือเปลี่ยนมุมในการมอง
1.1 รูปเรขาคณิตสามมิติที่เกิดจากการซ้อนกันของรูปเรขาคณิตสองมิติ
จะเห็นว่าแผ่นกระดาษรูปเรขาคณิตสองมิติ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เมื่อนำมาซ้อนกันและให้ทับกันสนิท จำนวนหลายๆ แผ่นดังรูป จะเห็นรูปเรขาคณิตสามมิติที่เป็นปริซึมฐานสี่เหลี่ยม
จะเห็นว่าแผ่นกระดาษรูปเรขาคณิตสองมิติ รูปวงกลม เมื่อนำมาซ้อนกันและให้ทับกันสนิทจำนวนหลายๆ แผ่นดังรูป จะเห็นรูปเรขาคณิตสามมิติที่เป็นทรงกระบอก
พิจารณารูปเรขาคณิตที่กำหนดให้ต่อไปนี้ เมื่อนำมาวางซ้อนทับกันให้สนิท รูปเรขาคณิตสามมิติที่เกิดขึ้นจะเป็นลักษณะอย่างไร
1.2 การคลี่รูปเรขาคณิตสามมิติ
1.3 การตัดขวางรูปเรขาคณิตสามมิติ
เมื่อนำระนาบรุปเรขาคณิตสองมิติมาตัดขวางรูปเรขาคณิตสามมิติในแนวต่างๆ กัน ภาพที่เกิดจากการตัดขวางรูปเรขาคณิตสามมิติในแนวที่แตกต่างกันจะมีลักษณะต่างกัน
จะเห็นภาพตัดขวางกรวยกลมดังรูป ระนาบตัดขวางทำให้เกิดเป็นภาพสองมิติรุปวงกลม
ถ้าใช้มุมที่แตกต่างกัน ภาพสองมิติที่มองเห็นจะแตกต่างกัน เช่น
หรือ อาจเปลี่ยนแนวระนาบตัดขวางในลักษณะใหม่ ดังภาพ เช่น
เมื่อเปลี่ยนแนวระนาบตัดขวางดังรูปจะเห็นว่า
1. ภาพตัดขวางที่เกิดขึ้นจะเป็นภาพสองมิติ รุปวงรี
2. ถ้าใช้มุมมองที่แตกต่างกัน ภาพสองมิติที่มองเห็นจะแตกต่างกัน
หรือ
เมื่อเปลี่ยนแนวระนาบตัดขวางดังรูป จะเห็นว่า
1. ภาพตัดขวางที่เกิดขึ้นจะเป็นภาพสองมิติ รุปพาราโบลา
2. ถ้าใช้มุมมองที่แตกต่างกัน ภาพสองมิติที่มองเห็นจะแตกต่างกัน
1.4 มุมมองของรูปเรขาคณิตสามมิติ
รูปเรขาคณิตที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน รูปร่างสิ่งที่มองเห็นจากการเปลี่ยนแปลงมุมมองแต่ละด้านมีความแตกต่างกัน
การหารูปร่างที่ถูกต้องของรูปเรขาคณิตสามมิติ ควรมองรูปร่างของวัตถุหลายๆ มุมมอง เช่น ด้านบน ด้านล่าง ด้านข้าง มีลักษณะอย่างไร และแยกภาพสองมิติที่ถูกต้องในแต่ละมุมมอง จะทำให้ได้สัดส่วน และขนาดของรูปเรขาคณิตที่ถูกต้อง ซึ่งสามารถเขียนรูปเรขาคณิตสามมิติได้ในสัดส่วนที่ถูกต้องได้
พิจารณารูปเรขาคณิตสองมิติที่ได้จากการมอง
1. ด้านบน 2. ด้านข้าง 3. ด้านหน้า ต่อไปนี้ แล้ววาดภาพแสดงการมองเห็นในด้านต่างๆ
1.5 รูปเรขาคณิตที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์ เมื่อกำหนดภาพสองมิติได้จากการมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบน
ดูตัวอย่างการประกอบรูปลูกบาศก์ เมื่อกำหนดภาพสองมิติได้จากการมองทางด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบน ต่อไปนี้
จะได้รูปเรขาคณิตสามมิติที่แสดงการจัดเรียงของลูกบาศก์ ดังนี้
ที่มา ; http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=79554
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น